ชนิดของหน้าแปลนที่นิยมใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีดังนี้
1. Socket Welded Flange (SW Flg.)
เป็นหน้าแปลนที่มีรูใน (bore) เป็นบ่ารับ (socket) ในการเชื่อมต่อกับท่อจะเชื่อมเฉพาะภายนอกเพียงด้านเดียว ภายในที่เป็นบ่าไม่ต้อง เชื่อม แนวเชื่อมภายนอกจะเป็นแบบเกย (fillet weld) จึงไม่สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ ของแนวเชื่อมด้วยวิธีเรดิโอกราฟิกได้ หน้าแปลนชนิดนี้นิยมใช้กับท่อขนาดเล็ก (small pipe) สำหรับบ่ารับของหน้าแปลน SW นั้นควรจะใช้เป็นความหนาเดียวกันกับความหนาท่อ เช่น ท่อ SCH 40 บ่ารับของหน้าแปลน SW ก็ควรใช้เป็น SCH40 เช่นเดียวกัน
2. Slip-on Flange (SO Flg.)
หน้าแปลนแบบ SO คล้ายกับหน้าแปลนแบบ SW เพียง ต่างกันที่รูในของหน้าแปลนแบบ SO จะไม่มีบ่ารับด้านใน ดังนั้นการต่อหน้าแปลนแบบ SO เข้ากับท่อ จะต้องเชื่อมทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่หน้าแปลนแบบ SW เชื่อมเฉพาะภายนอก
หน้าแปลนชนิดนี้นิยมใช้กับท่อขนาดใหญ่ (large pipe) และเป็นที่นิยมมากกว่า Welding Neck Flange เพราะมีราคาถูก อีกทั้งมีคอ (hub) สั้นจึงใช้ระยะในการติดตั้งน้อย
3. Threaded Flange หรือ Screw Flange
เป็นหน้าแปลนที่มีรูในเป็นเกลียว เหมาะ ที่จะใช้กับระบบท่อที่มีแรงดันและอุณหภูมิต่ำ การประกอบและติดตั้งทำได้ง่ายโดยไม่ต้องมี การเชื่อม ทำให้สามารถติดตั้งได้สะดวกและสามารถติดตั้งในบริเวณที่มีวัตถุไวไฟได้อย่างปลอดภัย
- เกลียวท่อที่นิยมใช้ในไทยจะเป็นเกลียว BSP กับ NPT โดยทางเอส.เค. ฟิตติ้ง วาล์ว (SK Fitting Valve) สามารถผลิตได้ทั้ง 2 มาตรฐาน
4. Welding Neck Flange (WN Flg.)
เป็นหน้าแปลนที่ถูกออกแบบให้มีการส่งถ่าย ความเค้น (stress) ที่เกิดขึ้นกับหน้าแปลน ไปยังเส้นท่อผ่านบริเวณคอที่แข็งแรง ทำให้ไม่มี ปัญหาการแตกร้าวที่รอยเชื่อมซึ่งอาจเกิดได้กับ Socket Welded Flange และ Slip-on Flange ด้วยการออกแบบที่พิเศษนี้ทำให้หน้าแปลนชนิดนี้มีราคาสูงกว่าหน้าแปลนประเภทอื่น
หน้าแปลนชนิดนี้นิยมใช้กับท่อขนาดใหญ่ การประกอบหรือการติดตั้งใช้วิธีต่อชนเชื่อม (Butt Weld) กับท่อ ทำให้สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของแนวเชื่อมด้วยวิธีเรดิโอกราฟิกได้
สำหรับความหนาของคอของหน้าแปลน WN นั้นควระใช้เป็นความหนาเดียวกันกับความหนาของท่อ เช่น ท่อ SCH 40 ความหนาของคอหน้าแปลน WN ก็ควรใช้เป็น SCH40 เช่นเดียวกัน
5. Lap Joint Flange
หากพูดถึง Lap Joint Flange นั้นต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ Lap Joint Flange และ Stub End Lap Joint Flange นั้นเป็นหน้าแปลนที่ต้องใช้ร่วมกับ Stub End โดยการสวม Lap Joint Flange เข้ากับ Stub End แล้วเชื่อมต่อ Stub End เข้ากับท่อด้วยวิธีชนเชื่อม (Butt Weld) ด้วยวิธีนี้ หน้าแปลนจะสามารถหมุนเป็นอิสระจากตัวท่อ ทำให้สามารถลดปัญหาการเยื้องศูนย์ของรูร้อยสลัก (bolt holes) และลดแรงบิดที่เกิดจากการเยื้องศูนย์ของท่อ
การที่ Lap Joint Flange และ Stub End เป็นคนละชิ้นกัน ทำให้เกิดทางเลือกในการ เลือกใช้วัสดุให้ประหยัดขึ้น เช่น ถ้าวัสดุท่อเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316 ก็สามารถที่จะเลือก ใช้ Stub End ที่เป็นวัสดุเดียวกับท่อ แต่เลือกใช้ Lap Joint Flange เป็นเหล็กกล้าคาร์บอนได้ แต่ทั้งนี้ต้องมีการป้องกันการเกิด Galvanic Corrosion ด้วย
6. Blind Flange
เป็นหน้าแปลนที่ไม่มีรูเปิดสำหรับเชื่อมท่อ ใช้ในการปิดปลายระบบ ท่อ หรือปิดปาก Nozzles ของ Pressure Vessel เพื่อเหตุผลต่างๆ เช่น เพื่อการทดสอบแรงดัน (hydro static pressure test)